บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สัจจะของศาสนาพุทธ

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนธัมมจักกัปปวัตนสูตรให้กับปัจจวัคคีย์ พระองค์ยืนยันว่าพระองค์ค้นพบสัจจะแล้ว  และเป็นอริยสัจอันเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังบอกวิธีที่จะเข้าไปรู้และเห็นความเป็นจริง (reality) และความเป็นจริงสูงสุด (ultimate reality) อีกด้วย

ดังนั้น เรื่องนรก สวรรค์ พรหม อรูปพรหม นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์กายละเอียดต่างๆ เช่น ยักษ์ พญานาค เป็นต้น ก็คือ ความเป็นจริง (reality)  ส่วนนิพพานก็คือ ความเป็นจริงสูงสุด (ultimate reality)

พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องจักรวาล/เอกภพว่า มีมากมายมหาศาลหรือเป็นอนันตจักรวาล[7] แต่พระองค์ก็ไม่เคยทรงอธิบายเรื่องบิกแบง (Big bang) หรืออธิบายว่า ในขณะนี้อยู่ในช่วงของบิกแบง (Big bang) ไหน และ บิกแบง (Big bang) ต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

จะเห็นได้ว่า ความจริงของนักวิทยาศาสตร์นั้น เป็นความจริงทางกายภาพ ตาของนักวิทยาศาสตร์มองได้ไกลขนาดไหน ความรู้ก็ไปขนาดนั้น  ความรู้สมัยปัจจุบันมักจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ทำให้เห็น เช่น กล้องโทรทัศน์ เป็นต้น

ส่วนสัจจะของศาสนาพุทธนั้น ต้องศึกษาเข้าไปข้างในจิตของตนเอง  วิธีการศึกษาก็ต่างกัน ผลการศึกษาของต่างกัน แต่ความจริงบางอย่างอาจจะสอดคล้องกันได้

ในเมื่อทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์ รวมถึงปรัชญาก็ต้องการค้นพบความจริงทางธรรมชาติเดียวกัน

สรุป

ความจริงของวิทยาศาสตร์กับสัจจะของศาสนาพุทธไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกัน ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการหาความจริงของธรรมชาติเช่นเดียวกัน  แต่ระดับของความจริงที่ค้นหานั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ไม่มีเนื้อหาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้เลยว่า ความจริงที่พระพุทธองค์ทรงค้นหานั้น มีความคล้ายคลึงหรือสอดคล้องกับความจริงของปรัชญาตะวันตกและวิทยาศาสตร์

เท่าที่ศึกษาได้นั้น วิธีทางในการเสาะหาความจริงของพระพุทธองค์แตกต่างกับวิทยาศาสตร์และปรัชญาตะวันตกโดยสิ้นเชิง

พุทธวิชาการที่พยายามประกาศว่า ความจริงของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์เก่านั้น ไม่กล้าเขียนหนังสือในทำนองนี้ออกมาแล้วอีกแล้ว เพราะ วิทยาศาสตร์เก่าถูกฟิสิกส์ใหม่ตีตกไปแล้ว

พุทธวิชาการยุคฟิสิกส์ใหม่ ก็เริ่มเดินทางผิดเช่นเดียวกัน เพราะพยายามโยงว่า ความจริงของศาสนาพุทธกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของฟิสิกส์ใหม่นั้น เป็นความจริงเดียวกัน

สิ่งที่น่าใคร่ครวญประการหนึ่งก็คือ กลศาสตร์ควอนตัม ก็เป็นทฤษฎีของฟิสิกส์ใหม่ และเป็นความจริงเท่าๆ กับทฤษฎีสัมพัทธภาพ  ทำไมพุทธวิชาการไม่กล่าวถึงบ้าง หรือเป็นเพราะ ไม่รู้จักกลศาสตร์ควอนตัม

สิ่งที่ควรใคร่ครวญเป็นอย่างยิ่งก็คือ  ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดในโลกที่ประกาศออกมาว่า ความจริงของศาสนาพุทธตรงกับความจริงของวิทยาศาสตร์ 

ผู้ที่ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือทำหนังสือออกมาขาย โดยประกาศว่า ศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ทั้งหมดเป็นคนไทยซึ่งไม่ได้ รู้และ เข้าใจฟิสิกส์ใหม่อย่างลึกซึ้งแต่ประการใด

เป็นเพียงทาส ซึ่งลุ่มหลงงมงายอยู่ว่า วิทยาศาสตร์ดีเลิศประเสริฐศรีเท่านั้น..

...........................................
อ้างอิง
[7] จากดั้งเดิมของภาษาอังกฤษที่ว่า universe ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “เอกภพ” นั้น แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ว่า “จักรวาล” นี้มีเพียงหนึ่งเดียว 

คำว่า “จักรวาล” ของภาษาอังกฤษเช่น สุริยจักรวาลนั้น มีความหมายแคบกว่า “ภพ” คือ เป็นส่วนหนึ่งของเอกภาพเท่านั้น  แต่คำว่า “จักรวาล” ในภาษาไทย หมายถึง “ภพ” ในภาษาอังกฤษ

พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า “อนันตจักรวาล” ก็หมายถึงว่า จักรวาลหรือภพนั้น มีมากมายมหาศาล แบบไม่ต้องนับกันว่า มีเท่าไหร่

นักวิทยาศาสตร์เพิ่งมาพบเมื่อเร็วๆ นี้เองว่า จักรวาลไม่ได้มี “หนึ่ง” เดียว แต่มีมากมาย จึงตั้งศัพท์ใหม่ขึ้นมา เช่น multi-universe หรือ multi-verse 
..........................................
บรรณานุกรม
Griffiths, D.E. 1978. Administrative Theory. Bombay: Prentice-Hall, Inc.
Fawcett, J., and Downs, F.S. The Relationship of Theory and Research. Connecticut: ACC.
Guralnik, D.B. 1984. Webster’s New World Dictionary. New York: Simon & Schuster.

บทความในชุดเดียวกัน



2 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้ทำบทความนี่ต่อโดยเน้นไปที่ เรื่องเหนือธรรมชาติที่พระพุทธองค์เคยพูดกับหลักความเป็นจริงที่ทั้งพิสูจน์ได้เเละยังไม่ได้ เเละก็อยากฝากหาเรื่องของความอมตะ เหมือนข้าพเจ้าจะเคยอ่านบทความหนึ่งที่บอกไว้ว่า "ความอมตะนั้นมีจริงเเต่พระพุทธองค์ไม่เลือกเดินทางนั้นเพราะเห็นว่า ความทุกข์จะยังอยู่คู่กับความอมตะ" อมตะในที่นี่หมายถึงสังขารไม่มีวันตายหรือหมายถึงดวงจิตไม่มีวันตาย ขอบพระคุณล้วงหน้า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอตอบเฉพาะข้อความนี้ก่อน

      "ความอมตะนั้นมีจริงเเต่พระพุทธองค์ไม่เลือกเดินทางนั้นเพราะเห็นว่า ความทุกข์จะยังอยู่คู่กับความอมตะ"

      ข้อความดังกล่าวนั้น "น่าจะผิด" และน่าจะผิดที่การตีความของคำว่า "อมตะ"

      การที่คนเรามี "ใจ-จิต-วิญญาณ" และ "ใจ-จิต-วิญญาณ" นี้ ต้องตายแล้วเกิดๆๆๆๆๆ จนกระทังบารมี 30 ทัศเต็ม และไปสู่อายตนะนิพพาน

      อย่างนี้ก็เป็น "อมตะ" เหมือนกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยตลอด จนกระทั่งไปสู่นิพพานแล้ว จึงไม่เปลี่ยนแปลง

      "อัตตาแบบพราหมณ์" คือ มีตัวอัตตาคล้ายคนตัวเล็กๆ เมื่อคนตาย ไอ้ตัว "อัตตาแบบพราหมณ์" ก็จะไปหาที่เกิดใหม่ จนสุดท้าย ได้เข้าไปอยู่ "มหาพรหมัน" นี่ก็เป็นอมตะเหมือนกัน

      หรือจะเป็นอมตะแบบแวมไฟร์ แบบมนุษย์หมาป่า


      อมตะในทางวิชาธรรมกายนั้น ก็มีนิพพานกายธรรม อย่างที่พระพุทธเจ้าของเรา กับนิพพานเป็น ซึ่งไปอายตนะนิพพานทั้งกายเนื้อเลย

      ทั้ง 2 ประการนี้ หมดกิเลสทั้งคู่ แต่นิพพานเป็นนั้น บำเพ็ญบารมียาวนานกว่า ร่างกายจึงละเอียดและไปนิพพานได้เลย

      ที่คุณอ่านมา มันเป็นอมตะแบบไหน ก็ลองไปพิจารณาดู

      ลบ