บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พระไตรปิฎกเป็นความจริงทั้งหมด


ในช่วงต่อไป ผมจะอธิบายถึงความจริง (truth) ในทางศาสนาพุทธ แต่เนื่องจากพุทธวิชาการปัจจุบัน ทำเสียเรื่องไปเยอะ คือ ไปปฏิเสธเรื่องจำนวนมากเลยว่า เป็นมายาคติ (myth) ที่ไม่จริง โดยจะเลือกเชื่อเป็นบางเรื่องที่ยอมรับกันได้ในทางศาสตร์ตะวันตกเท่านั้น

ในการกระทำเช่นนั้น  พุทธวิชาการได้นำคำศัพท์ใหม่ๆ เข้ามีตีความเนื้อหาของพระไตรปิฎก จนผิดเพี้ยนไปอีกด้วย

ดังนั้นในบทความนี้ จึงต้องตั้งข้อตกลงกันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นเสียก่อนว่า เนื้อหาของพระไตรปิฎกนั้น ไม่ว่าจะดูแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ดูไม่น่าเชื่อถือ เพราะ ขัดกับสามัญสำนึก[3] เป็นอย่างยิ่ง  แต่เราก็ต้องยอมรับกันก่อนว่า เป็นความจริง (truth) ทั้งหมด

หลักฐานก็มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎกมีพุทธพจน์ที่ว่า พระพุทธเจ้าจะตรัสแต่ความจริงที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ดังปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่ม 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หัวข้อ วาจาที่ประกอบ ด้วยประโยชน์

ในพระสูตรนี้ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสกับเจ้าชายอภัยราชกุมาร ซึ่งสรุปได้ว่า

พระพุทธองค์ทรงแบ่งพระวาจาของพระองค์ด้วยเกณฑ์ ความจริง ประโยชน์ และความชอบใจของผู้ฟังออกเป็น 6 ประเภท  ดังนี้
1)  วาจาที่ไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง
2) วาจาที่ไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง
3) วาจาที่จริง ไม่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง
4) วาจาที่จริง ไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง
5) วาจาที่จริง เป็นประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง
6) วาจาที่จริง เป็นประโยชน์ และเป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง

วาจาใน 4 ประเภทแรก พระพุทธองค์จะไม่ตรัสเลย 

ส่วนวาจา 2 ประเภทหลังนั้น พระองค์จะตรัส เมื่อเวลาอันสมควร คือ พระพุทธเจ้าจะกล่าวแต่เฉพาะวาจาที่จริงและเป็นประโยชน์ เท่านั้น

โดยสรุป

ในบทความนี้ เราต้องยอมรับกันโดยพื้นฐานว่า พระไตรปิฎกทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี เนื้อความทั้งหมดเป็นสัจจะ/ความจริง (truth) ทั้งนั้น 

สิ่งไหนที่ดูไม่มีเหตุผล หรือไร้สาระ เราก็ต้องยอมรับเสียก่อนว่า เรามีความรู้ไม่พอไม่ใช่ว่า ข้อความส่วนนั้นในพระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไป หรือถูกแต่งเติมเข้าไปเพื่อต้องการให้คนทำความดี [4]

แต่อย่างไรก็ดี จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฎก นักวิชาการพบว่า มีการแต่งเนื้อหาของพระไตรปิฎกเพิ่มเติมเข้าไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคราวที่มีการสังคายนากัน  ดังนั้น  เราก็ต้องมาตั้งข้อยอมรับกันใหม่ว่า

1) เนื้อความในพระไตรปิฎกที่เป็นพุทธพจน์เป็นความจริง

2) เนื้อความในพระไตรปิฎกที่ไม่เป็นพุทธพจน์ ก็อาจจะเป็นความจริงได้ ถ้านำพุทธพจน์มาอธิบายขยายความอย่างถูกต้อง

แต่ถ้านำพุทธพจน์อธิบายอย่างผิดเพี้ยน เพราะ ไปเชื่อเรื่องระบบเหตุผลของพราหมณ์-ฮินดูหรือเข้าใจผิดไปเอง เนื้อความส่วนนี้ของพระไตรปิฎกก็อย่าไปยึดถือว่าเป็นความจริง

3) เนื้อหาส่วนใด ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า เป็นการแต่งเพิ่มเข้าไป ก็ให้ถือเป็นความจริง (truth) ไว้ก่อน

จะเห็นได้ว่า ข้อความในพระไตรปิฎกจำนวน 45 เล่มนั้น  ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นพุทธพจน์ข้อความนั้นๆ ก็คือ ความจริง (truth)

สิ่งที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ก็คือ ความเป็นจริง (reality) ในทางศาสนาพุทธนั้น พุทธศาสนิกชนสามารถ เห็นได้

กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า 

ความเป็นจริง (reality) ในทางศาสนาพุทธนั้น สามารถทั้ง รู้และ เห็นได้ หรือสามารถทั้ง เห็นและ รู้ได้

หลักฐานในพระไตรปิฎกมีเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งผมมักจะยกตัวอย่างเสมอๆ ในข้อเขียนของผม 

สำหรับบทความนี้ ก็ขอยกตัวอย่างที่แต่สั้นๆ  ในส่วนที่พระพุทธองค์ทรงบรรยายเหตุการณ์ที่พระองค์บรรลุวิชชาสุดท้ายของวิชชาสาม ก่อนที่จะบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณว่า

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว

ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ

เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ

ข้อความที่ว่า รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ก็เป็นหลักฐานสำคัญว่า ในการพิจารณาหัวข้อธรรมะขั้นละเอียดลึกซึ้งจนถึงการบรรลุพระอรหันต์ต้องใช้การเห็นเป็นสำคัญ

พูดให้ง่ายเข้าก็คือ ทั้งเห็นทั้งรู้ และก็ทั้งรู้ทั้งเห็น จะรู้อย่างเดียวโดยปราศจากการเห็นไม่ได้ เพราะ รู้อย่างนั้นไม่ใช่การรู้แจ้งเห็นจริง

ขอยกตัวอย่างอีกพระสูตรหนึ่ง

ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงสอนพระสาวกอยู่  พระองค์ถามพระสารีบุตรที่อยู่ข้างๆ ว่า เชื่อคำสอนของพระองค์หรือไม่พระสารีบุตรตอบกลับว่า ไม่เชื่อ

พระสาวกที่ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ก็เริ่มส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะ อัครสาวกเบื้องขวาตอบยังงั้นกับพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าก็ทรงอธิบายให้พระสาวกต่างๆ ฟังว่า ที่พระสารีบุตรกล่าวตอบอย่างนั้น น่ะถูกแล้ว เนื่องจากพระสารีบุตรเมื่อได้ฟังแล้วก็ไปปฏิบัติ 

พอปฏิบัติแล้วก็ได้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ 

กล่าวโดยทั่วๆ ไปก็ว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นอย่างไร พระสารีบุตรก็รู้และเห็นอย่างนั้น พระสารีบุตรจึง เชื่อในภายหลัง

พระสูตรดังกล่าวนั้น มีข้อความดังนี้

ปุพพโกฏฐกสูตร  พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า

[983] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

[984] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น ที่สุด.

[985] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

ก็แลอมตะนั้นชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

พระสูตรนี้ ยืนยันให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของศาสนาพุทธที่ว่า การร่ำเรียนปริยัติอย่างเดียว อย่างที่พุทธวิชาการในปัจจุบันประพฤติปฏิบัติกันอยู่นั้น ไม่สามารถได้รับ ปฏิเวธได้เลย

และความรู้ที่ได้จากการคาดคะเนบ้าง นึกเอาบ้าง อนุมาน (infer) เอาบ้าง ก็ไม่มีทางตรงกับความเป็นจริง (reality) ของศาสนาพุทธได้เลย

นอกจากนั้นแล้ว ยังบ่งบอกถึงถึงข้อจำกัดของภาษาได้เป็นอย่างดี  คือ ภาษานี่ไม่ได้หมายความว่าจะสื่อสาร ความเป็นจริงได้ ภาษาสื่อสารได้แต่มโนทัศน์ (concept) เท่านั้น 

เช่น ถ้าผมพูดว่า แมวมาคำหนึ่ง  ทุกคนที่เป็นคนไทยจะเข้าใจมาผมหมายถึงสัตว์ประเภทไหน แต่ แมวที่ผมพูดถึงนี่ ไม่ใช่หมายถึงแมวตัวหนึ่งตัวใดในโลกนี้  แต่เป็นเพียงมโนทัศน์ (concept) ของแมวเท่านั้น 

ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังแล้ว แต่ไม่นำไปปฏิบัติ ก็ไม่มีทางเข้าถึง ความเป็นจริง (reality) ของทางศาสนาได้

ขอสรุปในเบื้องต้นนี้ก่อนว่า

ข้อเท็จจริง (fact) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ความจริง (truth) คือ ข้อความหรือภาษาที่ตรงกับข้อเท็จจริง (fact) หรือความเป็นจริง (reality) โดยส่วนใหญ่แล้วในทางวิทยาศาสตร์มีความเป็นจริง (reality) เป็นจำนวนมาก ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้

เช่น แสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง หรือคลื่นวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น แต่ความเป็นจริง (reality) ในทางศาสนาพุทธ สามารถเข้าถึงได้โดยการปฏิบัติธรรม

ในทางศาสนาพุทธนั้น ความเป็นจริง (reality) ยังสามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ สังขตะกับอสังขตะ

ความเป็นจริง (reality) ที่เป็นสังขตะนั้น คือ ความเป็นจริง (reality) ที่ยังมีปัจจัยปรุงแต่งอยู่ จึงเปลี่ยนแปลงสภาวะไปเรื่อย คือ เป็นอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา ก็หมายถึง นรก สวรรค์ รูปพรหม อรูปพรหม รวมถึง อิทธิปาฏิหาริย์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย เป็นต้น

ส่วนความเป็นจริง (reality) ที่เป็นอสังขตะคือ ความเป็นจริง (reality) ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ซึ่งก็คือ ความเป็นจริงสูงสุด (ultimate reality) หรือนิพพาน

สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ในขณะที่ในทางวิทยาศาสตร์นั้น ไม่สามารถเข้าถึงได้เลยก็คือ ความเป็นจริงสูงสุด (ultimate reality) เพราะขนาดความเป็นจริง (reality) ยังไม่สามารถเข้าถึงได้เลย แต่พุทธศาสนิกชนสามารถเข้าถึงความเป็นจริงสูงสุด (ultimate reality) หรือนิพพานได้

...........................................
อ้างอิง
[3] คนที่ไม่เชื่อศาสนาพุทธเพราะเห็นว่ามี เนื้อหาจำนวนมาก ไม่น่าจะเป็นจริงเพราะขัดกับสามัญสำนึก ก็ขอให้เปรียบเทียบกับทฤษฎีของฟิสิกส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ เพราะ เป็นเรื่องขัดสามัญสำนึกเช่นเดียวกัน

ยกตัวอย่าง เราสามารถจะเข้าไปในอดีตได้ด้วยกายเนื้อ ถ้ามีพาหนะที่มีความเร็วใกล้แสง เป็นต้น  พูดง่ายๆ ก็คือ ความเป็นจริง (reality) ของฟิสิกส์ใหม่ เชื่อยากกว่าความเป็นจริง (reality) ของศาสนาพุทธเสียอีก

[4] ตรงนี้เป็นความวิตกกังวลส่วนตัวของผู้เขียนเอง ที่จะพบคำอธิบายของพุทธวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่างน้อย 2 คน อธิบายพระไตรปิฎกบางส่วนว่า ตรงนี้พระไตรปิฎกเขียนไว้ไม่ชัด” 

ซึ่งแสดงถึงความหลงตัวหลงตนของผู้เขียนทั้ง 2 ท่านนั้น  อันที่จริงแล้ว มันน่าจะเกิดจากพุทธวิชาการทั้ง 2 ท่านนั้นมากกว่า ที่ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างไม่ครบถ้วน  แทนที่จะโทษตัวเอง กลับไปโทษว่า พระไตรปิฎกเขียนไว้ไม่ชัดเจน


บทความในชุดเดียวกัน



5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2556 เวลา 13:29

    ตนเป็นที่พึ่งของตน ทุกวันนี้วัดหรืพระสงเน้นสร้างเเต่วัดถุจนลืมไปว่าพระพุทธองทรงให้ปติบัตอย่างไร

    ตอบลบ
  2. ท่านผู้อ่านที่เคารพ

    ช่วยเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยครับ วิธีการง่ายก็คือ พิมพ์ใน Word ก่อน โปรแกรมจะช่วยตรวจได้พอสมควร

    เมื่ออ่านว่าถูกต้องดีแล้ว ค่อยคัดลอกมาลงที่ในช่องให้ความเห็น

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. "ยกตัวอย่าง เราสามารถจะเข้าไปในอดีตได้ด้วยกายเนื้อ ถ้ามีพาหนะที่มีความเร็วใกล้แสง"
    บรรทัดนี้ผิดนะครับ

    ถ้าเรามีพาหนะที่มีอัตราเร็วใกล้อัตราเร็วแสง เวลาของเราจะเดินช้ากว่าเมื่อเทียบกับคนอื่น
    เเปลว่าเรากำลังเดินทางไปในอนาคตเเบบกลับไม่ได้ ตามทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษนะครับ
    ไม่ได้ย้อนเวลาไปในไปในอดีต

    ตอบลบ
  5. คุณ Uttaya Ngamkham

    ผมเขียนไม่ผิดหรอก

    คุณลองใจเย็นๆ แล้วไปอ่านใหม่อีกสักครั้งสองครั้ง แล้วมาให้ความเห็นใหม่

    ตอบลบ